บทวิเคราะห์แรงงานสัมพันธ์

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่สอดคล้อง
กับ อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98

บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ
มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน

 

คำประกาศแห่งฟิลาเดลเฟีย


ความเป็นมา

           ในปี พ.ศ.2487 เมื่อองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้ดำเนินงานมาครบ 25 ปี และอยู่ในขั้นกระจายขอบเขตการปฏิบัติงานระยะหลังสงครามนั้น ที่ประชุมแรงงานระหว่างประเทศซึ่งมีขึ้น ณ ฟิลาเดลเฟียสหรัฐอเมริกาได้ลงมติยอมรับคำประกาศแห่งฟิลาเดลเฟีย ซึ่งได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์ขององค์การนี้เสียใหม่ คำประกาศนี้ยังคงเป็นข้อคิด อันเป็นแนวทางสำหรับงานทั้งหมดขององค์การ ดังนี้
           1. แรงงานมิใช่สินค้า
           2. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการจัดตั้งสมาคมเป็นสิ่งสำคัญสู่ความก้าวหน้าอันยั่งยืน
           3. ความยากจน ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญรุ่งเรืองในทุกแห่ง
           4. มนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ความเชื่อ และเพศใด มีสิทธิที่จะแสวงหาทั้งสวัสดิภาพ ทางวัตถุ และพัฒนาการด้านจิตใจ ภายในเงื่อนไขของ                      เสรีภาพและความมีศักดิ์ศรี ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และโอกาสอันเท่าเทียมกัน


(1)
สาระสำคัญของอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98

            อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน พ.ศ. 2491 (Freedom of Association and Protection of the Right to Organise ค.ศ.1948) และอนุสัญญาฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวกันและการร่วมเจรจาต่อรอง พ.ศ. 2492 (Right to Organise and Collective Bargaining ค.ศ.1949) ถือเป็นมาตรฐานแรงงานหลัก (Core Labour Standard) หรือ สิทธิพื้นฐานที่จะนำไปสู่การคุ้มครองสิทธิด้านอื่นๆ อันเป็นหลักประกันของเส้นทาง สู่ความยุติธรรมทางสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืน ความเสมอภาพ และการขจัดหรือบรรเทาความยากจนของผู้ใช้แรงงาน
            เท่าที่สำรวจได้ พบว่า มีการยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 ในวันแรงงานสากล ครั้งแรกปี 2535 และมีการยื่นต่อรัฐบาลใหม่แต่ละชุด เป็นประจำจนถึงปัจจุบัน

            อนุสัญญาฉบับที่ 87 มีสาระสำคัญ ดังนี้
            1. แรงงาน และนายจ้างมีสิทธิรวมตัวได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้า
            2. แรงงานและนายจ้างมีสิทธิรวมตัวได้ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติในอาชีพ สีผิว อาชีพ เชื้อชาติ สัญชาติ ลัทธิความเชื่อทางศาสนาและการเมือง
            3. องค์กรของแรงงานและนายจ้างต้องมีสิทธิก่อตั้งและเข้าร่วมสหพันธ์แห่งชาติ และเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศได้
            4. เจ้าหน้าที่รัฐต้องละเว้นการแทรกแซงใดๆ หรือการขัดขวางจำกัดสิทธิในการยกร่างธรรมนูญ และกฎข้อบังคับ
            5. การคัดเลือกผู้แทนการบริหารองค์กรและการดำเนินกิจกรรมขององค์กรแรงงานและนายจ้างโดยเสรี
            6. การนำหลักการของอนุสัญญานี้ไปใช้บังคับกับทหารและตำรวจ ต้องกำหนดโดยกฎหมายแห่งชาติเท่านั้น

           อนุสัญญาฉบับที่ 98 มีสาระสำคัญดังนี้
           1. รัฐต้องคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวจากการกระทำใดๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำที่ทำให้แรงงานไม่เข้าร่วมสหภาพ                  หรือต้องออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพหรือการเลิกจ้าง เพราะการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสหภาพแรงงาน
           2. รัฐต้องคุ้มครององค์กรของแรงงานและของนายจ้างอย่างเพียงพอจากการแทรกแซงโดยนายจ้าง
           3. รัฐต้องดำเนินการพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ให้กฎหมายคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวและการต่อรองร่วมสามารถบังคับใช้ได้
           4. รัฐต้องส่งเสริมการพัฒนากลไกการเจรจาต่อรองร่วมกันโดยเสรีระหว่างแรงงานและนายจ้าง
           5. การนำอนุสัญญานี้ไปใช้บังคับกับทหารและตำรวจ ต้องได้รับการกำหนดโดยกฎหมายแห่งชาติเท่านั้น
           6. อนุสัญญานี้ไม่ใช้บังคับกับข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของรัฐ และต้องไม่ใช้ไปในทางที่เป็นอคติต่อสิทธิหรือสถานะของข้าราชการ

           ที่ประชุมใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในปีพ.ศ.2541 ได้เห็นชอบปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) มีเป้าหมายส่งเสริมให้ทุกประเทศสมาชิกปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานหลัก โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกมีการให้สัตยาบันให้มากขึ้น
           ประเทศใดที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาหลักรวม 4 เรื่อง 8 ฉบับ (Core Labour Standards) ได้แก่การขจัดแรงงานบังคับ (ฉบับที่ 29 และ 105) เสรีภาพในการสมาคมและต่อรอง (ฉบับที่ 87 และ 98) การเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ (ฉบับที่ 100 และ 111) และคุ้มครองแรงงานเด็ก (ฉบับที่ 138 และ 182) จะต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าในการสร้างหลักประกันสิทธิของแรงงานในประเทศตามหลักการอนุสัญญาหลักฉบับนั้นทุกปี (Annual Report) เพื่อทราบถึงสถานการณ์แต่ละประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญาหลัก
           ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญาหลัก ซึ่งถือเป็นมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 87, 98 และฉบับที่ 111


(2)
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย

            พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2518 นับเป็นกฎหมายแรงงานฉบับแรกที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ปฏิวัติประชาชน 14 ตุลาคม 2516 กฎหมายนี้ใช้บังคับอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันกว่า 33 ปีแล้ว เป็นกฎหมายแรงงานที่มีการปรับปรุงแก้ไขน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติประกันสังคม
            การปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ดังกล่าว มักเกิดขึ้นในยุคเผด็จการทหารครองเมือง และแก้ไขไปในทางเพิ่มบทบาทอำนาจรัฐ จำกัดสิทธิการรวมตัวต่อรองของลูกจ้าง ครั้งที่สำคัญที่สุด คือ ในปี พ.ศ. 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 จำนวน 2 ครั้ง โดยได้ออกประกาศ รสช.ฉบับที่ 54 มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 มีนาคม 2534 อ้างเหตุผลว่า “พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ยังมีวิธีการไม่เหมาะสมแก่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สมควรแก้ไขให้มีความเหมาะสมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น” โดยแก้ไขเพิ่มเติม 3 เรื่อง กล่าวคือ
            1. ที่ปรึกษา ของนายจ้างหรือลูกจ้างในการเจรจาต่อรองและทำความตกลงสภาพการจ้าง ต้องแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมแรงงานกำหนดและต้องได้รับการจดทะเบียนจากอธิบดีด้วย
            ผู้ใดกระทำตนเป็นที่ปรึกษา โดยไม่ได้จดทะเบียน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ
            2. การนัดหยุดงาน เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ จะกระทำได้ต้องมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด ของสหภาพแรงงานและต้องลงคะแนนเสียงเป็นการลับ
            3. กำหนดให้กรรมการสมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง กรรมการสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้างที่อธิบดีกรมแรงงานในฐานะนายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ จะดำรงตำแหน่งกรรมการคราวต่อไปได้เมื่อพ้น 1 ปี นับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

            ต่อมาในเดือนเมษายน 2534 รัฐบาลในขณะนั้น ได้ดำเนินการออกพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 เพื่อยุบเลิกสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง และกำหนดให้จัดตั้งองค์กรในรูปแบบใหม่ คือ “สมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ” ซึ่งมีเงื่อนไขการจัดตั้งองค์กรยากลำบากขึ้น ไม่มีสิทธิแจ้งข้อเรียกร้องและร่วมเจรจาต่อรอง และไม่มีสิทธิรวมตัวกับสหภาพแรงงานเอกชนทั้งในระดับสหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้าง ต่อมาจึงได้ปรับปรุงกฎหมายเดิมเป็น “พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543” เพื่อให้แรงงานรัฐวิสาหกิจมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจ และมีสิทธิแจ้งข้อเรียกร้องได้ แต่กฎหมายยังคงแบ่งแยกสิทธิการรวมตัวของแรงงานเอกชนกับรัฐวิสาหกิจต่อไป

            กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ไทย ประกอบด้วย 4 หลักการใหญ่ คือ

           1. รับรองสิทธิการรวมตัวจัดตั้งองค์กรและการแจ้งข้อเรียกร้องต่อรองของนายจ้างและลูกจ้างที่มีสัญชาติไทย เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและการทำงาน และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองฝ่าย
           2. กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนเกี่ยวกับการแจ้งข้อเรียกร้อง กระบวนการระงับข้อพิพาทแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง รวมไปถึงการใช้สิทธินัดหยุดงานของลูกจ้าง และการปิดงานของนายจ้าง
           3. ให้สิทธิแก่ลูกจ้างในการจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบการ เพื่อนายจ้างได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการลูกจ้างในการจัดสวัสดิการ หรือกำหนดข้อบังคับในการทำงานการพิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้างและการระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ
           4. ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างและลูกจ้างที่ดำเนินกิจกรรมตามกฎหมาย และป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรม

 

 

 

            กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ภาคเอกชน กับกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ภาครัฐวิสาหกิจ มีสาระสำคัญแตกต่างกันสรุปได้ดังนี้

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2543
(1) ที่มาของกฎหมาย
ปรับปรุงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2515 ซึ่งออกตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515

ปรับปรุงพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 (ซึ่งออกมาใช้บังคับในยุคเผด็จการ รสช.ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2534) ตามข้อเรียกร้องของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

(2) วันที่ใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2518

ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2543
(3) กิจการที่ไม่ใช้บังคับ
1. ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่วนราชการของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
2. กิจการรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เว้นแต่การให้สหพันธ์แรงงานเข้าเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้าง
3. กิจการอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ปัจจุบันมีแห่งเดียว คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ใช้บังคับ พ.ศ. 2523

ไม่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ปัจจุบันมีแห่งเดียว คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดรัฐวิสาหกิจที่
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ไม่ใช้บังคับ พ.ศ. 2544
(4) ความหมายของ “ฝ่ายบริหาร”
ไม่มี
หมายความว่า ลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการจ้าง เลิกจ้าง ขึ้นค่าจ้าง ตัดค่าจ้าง หรือลดค่าจ้าง

(5) ความหมายของ “นัดหยุดงาน”
การที่ลูกจ้างไม่ทำงานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน
การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงาน เฉื่อยงานหรือถ่วงงานเพื่อให้การดำเนินงานบางส่วนหรือทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจต้องหยุดชะงักหรือช้าลง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2543
• ไม่ว่ากรณีใด ห้ามมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงาน

(6) รูปแบบของการจัดตั้งองค์กรของฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง
องค์กรฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่ สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง
องค์กรฝ่ายนายจ้าง ได้แก่ สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง

องค์กรฝ่ายลูกจ้าง มี 2 รูปแบบ คือ สหภาพแรงงาน และสหพันธ์แรงงาน
ไม่มีองค์กรฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายบริหารในกิจการรัฐวิสาหกิจ
(7) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรวมตัวจัดตั้งสหภาพแรงงาน
1. เป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันหรือลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันไม่น้อยกว่า 10 คนขึ้นไป เป็นผู้ริเริ่มก่อการ
ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการจ้าง การลดค่าจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จหรือการลงโทษ จะร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเดียวกันกับลูกจ้างอื่นไม่ได้
2. มีสัญชาติไทย
3. บรรลุนิติภาวะแล้ว

1. เป็นลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจเดียวกันที่มิใช่ฝ่ายบริหาร ไม่น้อยกว่า 10 คน เป็นผู้ริเริ่มก่อการ
2. เหมือนกัน
3. เหมือนกัน

(8) จำนวนสมาชิกขั้นต่ำของสหภาพแรงงาน
ไม่กำหนด
สหภาพแรงงานจะมีขึ้นได้ ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของลูกจ้างทั้งหมด แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรืองานตามโครงการ

(9) วัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน
1. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน
1. เหมือนกัน
2. เหมือนกัน
3. พิจารณาช่วยเหลือสมาชิกตามคำร้องทุกข์

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2543
2. แสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
4. ดำเนินการและให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ
(10) จำนวนสหภาพแรงงานในสถานประกอบการ หรือกิจการเดียวกัน
ไม่กำหนด
ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมีสหภาพแรงงานได้เพียงสหภาพแรงงานเดียว
(11) ข้อจำกัดการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
ลูกจ้างจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกี่แห่งก็ได้

 ลูกจ้างคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้เพียงแห่งเดียว

(12) คุณสมบัติของกรรมการสหภาพแรงงาน
1. เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้น
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
3. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
4. ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก

1. เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้น
2. ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก


(13) คุณสมบัติของสมาชิกสหภาพแรงงาน
1. ลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือเป็นผู้ซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน
2. มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
3. ไม่เป็นพนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
4. ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา จะเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้ง หรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ และลูกจ้างอื่นจะเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้จัดตั้งขึ้น หรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้

1. เป็นลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจนั้น


2. ไม่ใช่ฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจ

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2543
(14) ที่ปรึกษาในการเจรจาต่อรอง
ที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกำหนดและต้องได้รับการจดทะเบียนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ไม่ได้กำหนด
(15) การเลิกสหภาพแรงงาน
1. ข้อบังคับสหภาพแรงงานกำหนดให้เลิกในกรณีใด
2. ที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก
3. ล้มละลาย
4. นายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิก กรณีต่อไปนี้
4.1 สหภาพแรงงานดำเนินการขัดต่อวัตถุประสงค์ ขัดต่อกฎหมายหรือเป็นภัยต่อเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
4.2 ไม่ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการใหม่ทั้งคณะภายในระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งนาย
ทะเบียน
4.3 ไม่ดำเนินกิจการติดต่อกันเกิน 2 ปี

ข้อ 1-4 เหมือนกัน
เพิ่มเติมให้นายทะเบียนมีคำสั่งเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจได้อีก 2 กรณี คือ
(1) เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบและพบภายหลังว่าการรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญไม่เป็นไปตามกฎหมาย
(2) เมื่อมีจำนวนสมาชิกเหลือน้อยกว่า 25% ของลูกจ้างทั้งหมด
(16) การจัดตั้งและวัตถุประสงค์ของสหพันธ์แรงงาน
ประกอบด้วยสหภาพแรงงานในกิจการประเภทเดียวกันตั้งแต่ 2 สหภาพขึ้นไป และสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งของแต่ละสหภาพมีมติเห็นชอบการจัดตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิก
สหพันธ์แรงงานต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
 มีวัตถุประสงค์เหมือนสหภาพแรงงาน

สหภาพแรงงานตั้งแต่ 10 สหภาพขึ้นไป รวมกันจัดตั้งสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจได้
สหพันธ์แรงงานต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

วัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
2. เพื่อส่งเสริมการศึกษา
3. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในรัฐวิสาหกิจ

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2543
(17) การจัดตั้งและวัตถุประสงค์ของสภาองค์การลูกจ้าง
ประกอบด้วยสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานตั้งแต่ 15 แห่งขึ้นไป
สภาองค์การลูกจ้างต้องมีข้อบังคับและต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
 วัตถุประสงค์คือ เพื่อส่งเสริมการศึกษา และส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์

สหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานในรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิรวมกันจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างได้
กฎหมายให้เฉพาะสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจเข้าเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างของภาคเอกชนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

(18) คณะกรรมการร่วมหารือ
(Joint Consultation Committee –JCC)
• เป็นรูปแบบคณะกรรมการเดี่ยวคือ คณะกรรมการลูกจ้าง ซึ่งมีเฉพาะผู้แทนลูกจ้างเท่านั้น
• การจัดตั้ง ตามความสมัครใจของลูกจ้างหรือ
สหภาพแรงงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป
(1) เลือกตั้งโดยลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งหมด หรือ
(2) เลือกตั้งโดยลูกจ้างส่วนหนึ่งและสหภาพแรงงานแต่งตั้งบางส่วน
(3) แต่งตั้งโดยสหภาพแรงงานทั้งหมดถ้ามีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งของลูกจ้าง
องค์ประกอบ ประกอบด้วยลูกจ้างหรือสมาชิกสหภาพแรงงานจำนวน 5-21 คน ไม่มีตัวแทนนายจ้าง / ฝ่ายบริหาร
วาระดำรงตำแหน่ง คราวละ 3 ปี

• เป็นรูปแบบคณะกรรมการคู่ คือ คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายบริหาร และฝ่ายสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจ
• กำหนดให้มีในทุกรัฐวิสาหกิจ
• กรรมการของรัฐวิสาหกิจเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายนายจ้างแต่งตั้งจากฝ่ายบริหาร 5-9 คน ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างมีจำนวนเท่ากับฝ่ายบริหาร 5-9 คน
• วาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี

 (3)

ประเด็น…พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
ที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง หลักการของอนุสัญญาฉบับที่ 87และ 98 กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา
ฉบับที่ 87 และ 98
1. ผู้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน อนุสัญญาฉบับที่ 87 เรื่องหลักการจัดตั้งองค์กรโดยเสรีและปราศจากการเลือกปฏิบัติ - ต้องมีอายุ 20 ปี บรรลุนิติภาวะและสัญชาติไทย
- เป็นลูกจ้างที่หมายถึง ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง ทำให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ฯลฯ ตั้งสหภาพแรงงานไม่ได้
- ลูกจ้างเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ไม่สามารถรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรเดียวกัน เพราะกฎหมายแบ่งแยกออกจากกัน
- มีข้อยกเว้นห้ามข้าราชการ ลูกจ้าง ของส่วนราชการจัดตั้งสหภาพแรงงานได้

2. หลักเกณฑ์การจัดตั้งสหภาพแรงงานและการดำเนินงาน อนุสัญญาฉบับที่ 87 เรื่อง เจ้าหน้าที่ต้องละเว้นการแทรกแซงใดๆ หรือขัดขวางการบริหารงาน การดำเนินกิจกรรมขององค์กรคนงาน - ลูกจ้างอย่างน้อย 10 คน ต้องไปยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงาน พร้อมกับร่างข้อบังคับสหภาพแรงงาน รวมทั้ง กรรมการสหภาพแรงงานเมื่อได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกแล้วต้องนำไปยื่นจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่รัฐ
- สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจต้องมีสมาชิกอย่างน้อย ร้อยละ 25 ของลูกจ้างทั้งหมด จึงจัดตั้งสหภาพแรงงานได้
- เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจเข้าไปในสำนักงานของสหภาพแรงงานเพื่อตรวจสอบกิจการของสหภาพรวมทั้งสั่งให้กรรมการหรือลูกจ้างของสหภาพแรงงานส่งหรือแสดงเอกสาร หรือบัญชีของสหภาพแรงงาน เพื่อประกอบการพิจารณากรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น
- เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจสั่งให้กรรมการสหภาพแรงงานออกจากตำแหน่งได้ เมื่อดำเนินกิจการผิดวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น


ประเด็นที่เกี่ยวข้อง หลักการของอนุสัญญาฉบับที่ 87และ 98 กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา
ฉบับที่ 87 และ 98
3. สิทธิการรวมตัวเป็นสหพันธ์แรงงาน อนุสัญญาฉบับที่ 87 เรื่อง องค์กรคนงาน มีสิทธิก่อตั้งและเข้าร่วมสหพันธ์และสมาพันธ์ได้โดยเสรี - สหภาพแรงงานเอกชนกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ไม่สามารถรวมตัวเป็นสหพันธ์แรงงานและสภาองค์การลูกจ้างได้
- กฎหมายกำหนดให้เฉพาะสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ เข้าเป็นสมาชิกของสภาองค์การลูกจ้างได้

4. จำนวนสหภาพแรงงานในสถานประกอบการเดียวกัน อนุสัญญาฉบับที่ 87 เรื่อง สิทธิการรวมตัวอย่างเสรีของคนงาน - กำหนดให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมีสหภาพแรงงานได้เพียง สหภาพแรงงานเดียว และลูกจ้างคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจได้เพียงแห่งเดียว

5. การห้ามลูกจ้างเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน อนุสัญญาฉบับที่ 87 เรื่อง หลักการรวมตัวอย่างเสรีของคนงาน โดยไม่ถูกจำกัดสิทธิ - ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาจะเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่น ได้จัดตั้งหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ และลูกจ้างอื่นจะเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานที่ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้จัดตั้งหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้
- ฝ่ายบริหารในรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างซึ่งทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว การจร ตามฤดูกาล และตามโครงการไม่มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้
6. การเลือกที่ปรึกษาของสหภาพแรงงาน อนุสัญญาฉบับ 87 เรื่อง สิทธิในการบริหารงานของสหภาพแรงงานโดยไม่ถูกแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐ - กำหนดให้เลือกที่ปรึกษาในการเจรจาต่อรองของสหภาพแรงงานเฉพาะที่จดทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเท่านั้น
7. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธินัดหยุดงาน อนุสัญญาฉบับที่ 87 เรื่องเจ้าหน้าที่รัฐต้องละเว้นการแทรกแซงใดๆ หรือขัดขวางการดำเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงานและขัดกับอนุสัญญาฉบับที่ 98 เรื่องการแทรกแซงการต่อรองโดยหน่วยงานรัฐ - สหภาพแรงงานเอกชนจะนัดหยุดงานได้ต้องจัดประชุมใหญ่ และมีสมาชิกลงคะแนนเสียงอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของทั้งหมด จึงจะสามารถนัดหยุดงานได้
- รัฐมนตรีมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งยุติการนัดหยุดงานหรือกำหนดกิจการที่ห้ามใช้สิทธินัดหยุดงานได้ แม้ในกิจการที่ไม่ถือว่าเป็นบริการที่จำเป็น (non-essential service)
- ห้ามกิจการรัฐวิสาหกิจทุกประเภทนัดหยุดงาน แม้ไม่ใช่กิจการบริการสาธารณะ

 


ประเด็นที่เกี่ยวข้อง หลักการของอนุสัญญาฉบับที่ 87และ 98 กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา
ฉบับที่ 87 และ 98
8. การคุ้มครองผู้จัดตั้งสหภาพแรงงานและการรวมตัวต่อรอง อนุสัญญา ฉบับที่ 98 เรื่อง องค์กรของคนงานไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอ หรือไม่ถูกแทรกแซงขัดขวางจากนายจ้าง - กฎหมายไม่ได้คุ้มครองผู้ดำเนินการก่อตั้งสหภาพแรงงานอย่างชัดเจน
- กฎหมายไม่ห้ามการปิดงานเฉพาะกลุ่มลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือมีรายชื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง และไม่ห้ามนายจ้างรับคนเข้าทำงานแทนลูกจ้างที่ใช้สิทธินัดหยุดงานอยู่
- ข้อแตกต่างการคุ้มครอง "กรรมการลูกจ้าง" และ "กรรมการสหภาพแรงงาน" คือ การลงโทษ หรือเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ในขณะที่นายจ้างมีอำนาจเด็ดขาดในการเลิกจ้างหรือลงโทษกรรมการสหภาพ

 การให้สัตยาบันอนุสัญญาหลักของ 182 ประเทศสมาชิก ILO

ณ 15 สิงหาคม 2551
ประกาศใช้ ฉบับที่ ว่าด้วยเรื่อง จำนวนประเทศ
ให้สัตยาบัน
ค.ศ.1930
(พ.ศ.2473) 29 อนุสัญญาว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือ
แรงงานบังคับ 172
ค.ศ.1948
(พ.ศ.2491) 87 อนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม
และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน 149
ค.ศ.1949
(พ.ศ.2492) 98 อนุสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิ
ในการรวมตัวกันและการร่วมเจรจาต่อรอง 159
ค.ศ.1951
(พ.ศ.2494) 100 อนุสัญญาว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับ
คนงานชายและหญิงซึ่งทำงานที่มีค่าเท่ากัน 166
ค.ศ.1957
(พ.ศ.2500) 105 อนุสัญญาว่าด้วยการยกเลิกแรงงานบังคับ 170
ค.ศ.1958
(พ.ศ.2501) 111 อนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน
และอาชีพ 168
ค.ศ.1973
(พ.ศ.2516) 138 อนุสัญญาว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่ให้จ้างงานได้ 150
ค.ศ.1999
(พ.ศ.2542) 182 อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามและการดำเนินการโดยทันที
เพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก 169

 ปีพ.ศ.ที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาหลักของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน

ชื่อประเทศ
(จำนวนที่ให้สัตยาบันทั้งหมด) อนุสัญญาหลัก ฉบับที่
29 87 98 100 111 105 138 182
Brunei (1) 2551
Cambodia (13) 2512 2542 2542 2542 2542 2542 2542 2549
Indonesia (18) 2493 2541 2500 2501 2542 2542 2542 2543
Lao PDR (8) 2507 2551 2551 2548 2548
Malaysia (14) 2500 2504 2540 2540 2543
Myanmar (19) 2498 2498
Philippines (31) 2548 2496 2496 2503 2496 2503 2541 2543
Singapore (20) 2508 2508 2545 2548 2544
Thailand (15) 2512 2542 2512 2547 2544
Viet Nam (17) 2550 2540 2540 2546 2543

ข้อสังเกต
(1) ไทยนับเป็นหนึ่งใน 45 ประเทศที่เป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งไอแอลโอในปีพ.ศ. 2462 ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญา ไอแอลโอรวมจำนวน 15 ฉบับ ซึ่งเป็นอนุสัญญาหลัก 5 ฉบับ (จากอนุสัญญาหลักทั้งหมด 8 ฉบับ) ได้แก่ อนุสัญญาฉบับที่ 29, 100, 105, 138 และ 182
อนุสัญญาฉบับอื่นๆ ที่ประเทศไทยให้สัตยาบัน เช่น อนุสัญญาฉบับที่ 127 ว่าด้วยน้ำหนักสูงสุดที่ให้คนงานแบกหามได้, ฉบับที่ 14 ว่าด้วยการหยุดพักผ่อนประจำสัปดาห์ในสถานประกอบการอุตสาหกรรม, ฉบับที่ 88 ว่าด้วยบริการจัดหางาน, ฉบับที่ 122 ว่าด้วยนโยบายการจ้างงาน เป็นต้น อนุสัญญาส่วนใหญ่ ให้สัตยาบันภายใต้ระบอบเผด็จการทหารปลอดกฎหมายแรงงานช่วงปี 2511 – 2512 (7 ฉบับ) ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 50 ปีแห่งการก่อตั้ง ไอแอลโอ (2462 – 2512)

(2) ในช่วง 35 ปีของระบบทุนนิยมเลือกตั้งธิปไตยรัฐอุปถัมภ์ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ถึงปี 2551 รัฐบาลไทยให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO เพียงจำนวน 4 ฉบับ ฉบับสุดท้าย คือ อนุสัญญาฉบับที่ 159 ว่าด้วยการฟื้นฟูอาชีพและการจ้างงาน (คนพิการ) เมื่อปี 2550
(3) ประเทศอาเซียนที่ยังไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญาหลักฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและต่อรองทั้ง 2 ฉบับ มี 4 ประเทศ ได้แก่ บรูไน, ลาว ไทยและเวียดนาม ในขณะที่ให้สัตยาบันทั้ง 2 ฉบับแล้ว มี 3 ประเทศ คือ กัมพูชา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และมี 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย สิงคโปร์และพม่าที่ให้สัตยาบันเพียงฉบับใดฉบับหนึ่ง

(4) มี 3 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่ได้ให้สัตยาบันมาตรฐานแรงงานหลักครบถ้วน 8 ฉบับแล้ว คือ อินโดนีเซีย เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ให้สัตยาบันครบในปี 2543 ตามมาด้วยประเทศฟิลิปปินส์ ในปีพ.ศ.2548 และกัมพูชาในปีพ.ศ.2549

(5) ปี พ.ศ.2552 จะเป็นปีที่ครบรอบ 90 ปีแห่งการก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (2462-2552)
ครบ 40 ปีแห่งการได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพของ ILO (2512-2552)
ครบ 60 ปีแห่งการประกาศใช้อนุสัญญาฉบับที่ 98 (2492-2552)

เป็นวาระต้องสมควรแล้วหรือยัง ? ที่รัฐบาลไทยพึงพิจารณาเร่งให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98
นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกของ ILO ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แสดงความมุ่งมั่นและ
พันธสัญญาร่วมกันที่จะส่งเสริมให้แรงงานภูมิภาคนี้ได้มีโอกาสทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีการจ้างงานที่มีคุณค่าถ้วนหน้าภายในปีพ.ศ.2558 ที่เรียกว่า


“ทศวรรษแห่งการสร้างงานที่มีคุณค่าในเอเชียพ.ศ.2549-2558”
“ASIAN DECENT WORK DECADE 2006-2015”

Decent Work for All

 

 

 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 22,041