ประวัติความเป็นมา

ประวัติศาสตร์ของสหภาพแรงงานเอสโซ่แห่งประเทศไทย


        จุดเริ่มต้นของการรวมตัวของลูกจ้าง ของบริษัท เอสโซ่โรงกลั่นน้ำมันศรีราชา ก่อนจะมาเป็น บริษัท เอสโซ่ฯ เดิมทีเป็นบริษัท ของชาวจีนไต้หวัน มีชื่อว่า บริษัท แทมโก้โดยกลั่นยางมะตอย มีพนักงาน ทั้งจีนไต้หวัน และ ชาวไทย ทั้งหมดกว่า ร้อยคน มีการทำงานแบบครอบครัว ใครใคร่ทำ ทำ ใครขี้เกียจทำก็ไม่ทำ ไม่มีใครมาคอยจับผิด กฎระเบียบ ไม่มากมาย เรียกว่าทำงานด้วยความสบายใจ ทำงานเหนื่อยนัก หัวหน้าชาวไต้หวันก็พาไปเลี้ยงอย่างอิ่มหมีพลีมัน ค่าครองชีพก็ถูก ทองคำบาท ละ 400 บาท
เมื่อ บริษัท เอสโซ่ฯ ซื้อกิจการโรงกลั่นยางมะตอย เมื่อ ปี 2515 แรกๆก็ไม่ค่อยมีระเบียบเข้มงวดเท่าไหร่ มาระยะหลังๆเริ่มออกระเบียบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขนาดเข้ากะ 12 ชั่วโมงเต็ม และใช้เวลา 24.00 น. เป็นเวลาตัด คือ เข้าทำงาน เที่ยงคืนออกเที่ยงวัน พนักงานเริ่มรู้สึกว่ามันหนักเกินไป และเป็นการทารุณอย่างแสนสาหัส สากัน เราเก็บความรู้สึกอันนี้ไว้ และรอเวลาให้ความรู้สึก เช่นนี้สะสมขึ้นเรื่อยๆเปรียบเสมือน ระเบิดเวลา และวันนั้นก็มาถึง โดยมีพนักงานกลุ่มหนึ่งได้ปรึกษาหารือ และร่วมกันจัดตั้งสมาคมลูกจ้างสมาคมลูกจ้างโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2515 ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ 103 ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 โดยมีพนักงาน ระดับ
Non – M P Tได้
ปรึกษาหารือ และเห็นพ้องต้องกันว่า การที่พนักงานในโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ ต่างคนต่างทำงานโดยไม่คิดรวมตัวกันนั้น ย่อมจะถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่มีสวัสดิภาพกับความมั่นคงในการทำงาน ปัจจุบันฝ่ายนายจ้างเป็นผู้กำหนดสวัสดิการ ตลอดถึงการลางาน และอื่นๆ ของพนักงานฝ่าย คือ พนักงานจะไม่มีอำนาจเป็นผู้กำหนดได้เลย เมื่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ของคณะปฏิวัติ ฉบับ 103 ได้เปิดโอกาสให้ลูกจ้างรวมตัวกันจัดตั้งสมาคมลูกจ้างได้ พนักงาน กลุ่มดังกล่าวได้เชิญพนักงานหน่วยงานต่างๆ ให้เข้าร่วมเพื่อรับฟังคำชี้แจง การรวมตัวจัดตั้งสมาคมลูกจ้าง ในวันที่ 1 พ.ค. 2515 ณ.บ้านเลขที่ 143 / 3 ถนนสุขุมวิท อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีพนักงานเข้าร่วม ประชุมในครั้งนั้น ประมาณ 45 คนโดยมีนายวิรัตน์ ภิญโญเป็นผู้ดำเนินการชี้แจงการจัดตั้งสมาคมลูกจ้าง ระหว่างการประชุมชี้แจงพนักงาน นายวิรัตน์ ภิญโญ ก็อธิบายถึงวัตถุประสงค์ให้ฟัง พอสรุปได้ดังนี้
- ให้ความคุ้มครองแก่สมาชิกคนงาน เพื่อให้คนงานรู้สึกปลอดภัย และมั่นคงในงานที่ทำ ไม่ให้นายจ้างกลั่นแกล้งโดยไม่มีเหตุผล
- เพื่อให้คนงานมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น หรือ ต่อต้านการถูกลดค่าแรง
- เรียกร้องให้นายจ้างจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีขึ้น ปรับปรุงการทำงาน วันหยุด การลา และสวัสดิการ ต่างๆ
- ช่วยระงับข้อพิพาทระหว่างคนงานด้วยกัน และระหว่างคนงานกับนายจ้าง
วัตถุประสงค์ดังกล่าว ดังกล่าว จะกระทำได้ต่อเมื่อ ทุกคนในที่ประชุม ช่วยกันเลือกตัวแทนเพื่อขอจดทะเบียนสมาคมลูกจ้างให้ถูกต้องตามกฎหมาย เสียก่อน ในที่ประชุมเห็นด้วยกับการขอจดทะเบียน สมาคมลูกจ้าง ในครั้งนั้น จึงได้เลือก ตัวแทนขึ้น จำนวน 10 คน รายชื่อดังนี้
1.นายพิสิทธิ์ ธีระสาน ประธาน
2.นายวิรัตน์ ภิญโญ เลขา
3.นายประกาย ปานะพันธ์
4.นายวิไล วาดเขียน
5.นายสนิท พัฒนกุล
6.นายเผด็จ วิรัชกุล
7.นายสมพร ขจีรัมย์
8.นายวิชัย พรหมประเสริฐ
9.นายภักดี มหพันธ์
10.นายประกิจ พิลาศจิตต์ เหรัญญิก
คณะกรรมการที่กล่าว ข้างต้นนี้ ได้ขอระเบียบการจดทะเบียน ณ.แรงงาน เขต 2 ชลบุรี เมื่อ วันที่ 16 ตุลาคม 2515 โดยมีนายประเสริฐ รีเจริญ เป็นหัวหน้าเขต และได้รับอนุมัติเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2515 หมายเลขทะเบียน ชบ. 1 / 2515 โดยใช้สำนักงานสมาคมชั่วคราว ที่ 143 / 7 สุขุมวิท ศรีราชา ชลบุรี เรียกชื่อสมาคม นี้ว่า สมาคมลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันเอสโซ่
คณะกรรมการชุดดังกล่าวนี้ ได้ขออนุมัติในที่ประชุมใหญ่เปลี่ยน ชื่อสมาคมใหม่ มีชื่อว่า สมาคมลูกจ้างเอสโซ่แสตนดาร์ดและให้ย้ายสำนักงานใหม่ ไปตั้ง ณ. เลขที่ 39 /31 ถนนสุรศักดิ์สงวน ศรีราชา ชลบุรี คณะกรรมการชุดนี้ ได้หมดสภาพการเป็นกรรมการเมื่อ 6 ธันวาคม 2516 เนื่องจากเหตุการณ์การหยุดงานของสมาชิก ต่อมา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2517 ได้มีการจัดประชุมใหญ่ และเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้น โดยมี
ต่อมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2518 ได้จัดประชุมใหญ่ให้เลือกตั้ง คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ขึ้น ผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการการมีรายชื่อดังนี้
1.นายสมพร ขจีรัมย์ ประธาน
2.นายวีระ มหพันธ์
3.นายสนิท พัฒนกุล เหรัญญิก
4.นายวิรัตน์ ภิญโญ
5.นายเผด็จ วิรัชกุล
6.นายวิไล วาดเขียน เลขา
7.นายยงยุทธ จันทรผาสุก
8.นายมนัส อารมณ์เสรี
9.นายเสนอ รักมาก
10.นายสมคิด พรหมเจริญ
11.นายเฉลิมชัย ศรีสมโพธิ์
และโดยที่ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มีผลให้ สมาคมลูกจ้าง เปลี่ยนเป็น สหภาพแรงงาน โดยมารยาท ของคณะกรรมการบริหาร จึงลาออกจากตำแหน่ง คณะกรรมการบริหาร
สมาคมลูกจ้าง แต่ยังคงทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งกรรมการบริหารสหภาพแรงงานชุดใหม่ ขึ้นมาเรียบร้อย ต่อมาเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 17 เมษายน 2518 ก็ได้เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงาน ขึ้น ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารมีรายชื่อดังนี้
1.นายสมพร ขจีรัมย์ ประธาน
2.นายวิไล วาดเขียน รองประธาน
3.นายวีระ มหพันธ์ เลขา
4.นายสนิท พัฒนกุล เหรัญญิก
5.นายเสนอ รักมาก
6.นายเที่ยง เอกคณาสิงห์
7.นายสำลี ตันติกุล
8.นายไพโรจน์ เย็นทูล
9.ม.ล.ปรีชา มาลากุล
10.นายเฉลิมชัย ศรีสมโพธิ์
11.นายยงยุทธ จันทรผาสุก
12.นายเปรม พานิชวัฒนา
13.นายอุทัย ประสิทธิชัย
14.นายสมคิด พรหมเจริญ
คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ขออนุมัติเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา มีอักษรย่อว่า สนอ.
ทั้งนี้ ได้เป็นผู้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก ร่วมกับ สหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันไทย สหภาพแรงงานน้ำตาลชลบุรี และสหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา และจากลูกจ้างสถานประกอบการที่กำลังขออนุมัติจดทะเบียน อีก 2 แห่ง คือ สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมไม้ขีดไฟ ศรีราชา และ สหภาพแรงงาน อ ส ท บางแสน เมื่อวันที่ 1ตุลาคม 2518 ณ.ห้องประชุมแรงงานจังหวัด ข้างที่ว่าการอำเภอศรีราชา โดยที่ประชุมกลุ่มมีมติ ให้คุณสมพร ขจีรัมย์ แห่งสหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ ศรีราชา เป็นประธาน และ คุณทองพูน พงษ์ศิลา แห่งสหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันไทย เป็น เลขานุการ โดยมีคุณวิไล วาดเขียน เป็นรองประธาน และ คุณสิทธิธรรม แท่นนิล เป็นรองเลขา เข้าเป็นสมาชิกสภาแรงงานแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2521 สมาชิกลำดับเลขที่ 014 ในสมัยที่มี นายอาหมัด ขามเทศทอง เป็นประธานสภาแรงงาน และนายวิชัย โถสุวรรณจินดา เป็น เลขาธิการสภา
ในเวลาต่อมา ทางสหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชาได้
ร่วมเป็นผู้ดำเนินการก่อตั้ง สหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2526 และเป็นสมาชิก ลำดับที่ 1 ของ สหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย พร้อมทั้ง รองประธาน ขณะนั้น คือ นายบัญชา เกตอินทะ ได้รับการไว้วางใจ จากมวลสมาชิกของสหพันธ์ฯ ให้ดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์ฯ ถึง 2 สมัย พร้อมกันนี้ ในปี พ.ศ. 2532 คณะกรรมการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย พิจารณา มอบรางวัลสถานประกอบการและสหภาพแรงงานดีเด่น ด้านแรงงานสัมพันธ์ สถานประกอบการขนาดใหญ่ ประจำปี 2532 ณ.ปะรำพิธีจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ บริเวณท้องสนามหลวง วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2532 เวลา 11.00 น. โดย ฯพณฯ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มอบรางวัล โดยสหภาพแรงงานเอสโซแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลดีเด่น บ. เอสโซ่แสตนด์ดาร์ดประเทศไทย จำกัด และ สหภาพแรงงานเอสโซ่แห่งประเทศไทย
รางวัลชมเชย ได้แก่บริษัท ซิกเนติกส์ไทยแลนด์ จำกัดและ สหภาพแรงงาน ซิกเนติกส์บริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัดและ สหภาพแรงงาน ธนาคารกรุงเทพ บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด และ สหภาพแรงงาน ไทยบริดจสโตน
ต่อมา ใน ปี พ.ศ. 2549 นายอิสระ มุสิกอง ประธานสหภาพฯ ได้รับมอบหมายให้ไปร่วมกันก่อตั้ง สหพันธ์แรงงานโรงกลั่นน้ำมันแห่งประเทศไทย ร่วม กับ ประธานสหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันไทย คือ นายนิพนธ์ ภิรมย์ลาภา ซึ่งได้ ทะเบียนสหพันธ์แรงงาน โรงกลั่นน้ำมันแห่งประเทศไทย เลขที่ ชบ. 1 / 2550

เมษายน 2515 - ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแรงงานสัมพันธ์
ให้จัดตั้ง สมาคมนายจ้าง และสมาคมลูกจ้างได้
ตุลาคม 2515 - พนักงานคลังน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา ได้จัดตั้ง
สมาคมลูกจ้างเอสโซ่แสตนดาร์ด ประเทศไทย
กุมภาพันธ์ 2518 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ประกาศบังคับใช้
พฤศจิกายน 2518 สมาคมลูกจ้างเอสโซ่แสตนดาร์ด ประเทศไทย เปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพแรงงานพนักงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา
กันยายน 2522 มีการทำข้อตกลงฯ มีผลบังคับใช้ 3 ปี ระหว่าง คลังน้ำมันเอสโซ่ ช่องนนทรี และคลังแก็ส ช่องนนทรี กับ สหภาพแรงงานพนักงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา
มีนาคม 2523 สหภาพแรงงานพนักงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา เปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพแรงงานเอสโซ่ แห่งประเทศไทย
เมษายน 2524 ได้มีการทำข้อตกลงฯ ฉบับรวมมีผลบังคับใช้ 3 ปี เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสหภาพการจ้าง ระหว่าง บริษัท เอสโซ่แสตนด์ดาร์ดประเทศไทย จำกัด กับ สหภาพแรงงานเอสโซ่แห่งประเทศไทย
ตุลาคม 2530 สหภาพแรงงานเอสโซ่แห่งประเทศไทย ยื่นข้อเรียกร้อง ทำข้อตกลงฉบับใหม่
มีนาคม 2531 การเจรจาตกลงกันได้ และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่าง บริษัท เอสโซ่แสตนด์ดาร์ดประเทศไทย จำกัด กับ สหภาพแรงงานเอสโซ่แห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ 3 ปี ซึ่งเป็นฉบับที่ เป็นต้นแบบ ของข้อตกลง ต่อๆมา จน ปัจจุบัน

 

Visitors: 21,934